นำเสนอ แนวข้อสอบบรรจุครู เอกภาษาไทย ชุดที่ 10 นะครับไปดูกันเลย
82. สาระสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้ใกล้เคียงกับข้อใดมากที่สุด
? ขณะผู้มีบุญท่านขุ่นเคือง ไปหาเรื่องเท่ากับว่าไปหาหวาย?
1) กล้านักมักบิ่น 2) เอามือไปซุกหีบ
3) จระเข้ขวางคลอง 4) น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
83. ข้อใดไม่ใช่สารจากเรื่องอัวรานางสิงห์
1) คุณค่าของชีวิตแม้แต่ชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน
2) ความน่าเกรงขามของเคราะห์กรรมหรือโชคชะตา
3) ความเห็นแก่ตัวและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์
4) ความน่าสลดใจของการกระทำที่สวนทางกับธรรมชาติ
84. ข้อใดเป็นสาระสำคัญที่สุดของข้อความต่อไปนี้
? ฝูงมนุษย์ไม่เข้าใจการเรียกร้องของอัวรา พวกเขาพากันหัวเราะและบางคราวทำหน้าล้อเย้ยหยันอย่างน่าบัดสี ฝูงมนุษย์ย่อมจะขลาด ดังนั้นจึงชมเชยรัฐบาลของตัวในข้อที่จัดสิ่งที่ตัวกลัวแต่อยากเห็นไว้ให้ตัวดูได้โดยปลอดภัย?
1) มนุษย์ทำให้อัวราสูญเสียสัญชาตญาณสัตว์ป่าอย่างสิ้นเชิง
2) ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นต้นเหตุให้สัตว์เกิดความทุกข์ทรมาน
3) ความกลัวและความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ทำให้เกิดสวนสัตว์ขึ้น
4) มนุษย์หัวเราะเยาะความเดียวดายอันน่าเวทนาของอัวราแทนที่จะเห็นใจ
85. ข้อใดสะท้อนแนวคิดหลักของพุทธศาสนาชัดเจนที่สุด
1) อันว่าความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่
2) นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
3) ยามบวชบ่มบุญไป น้ำตาไหลเพราะอิ่มบุญ
4) ไม่มีพรเทพพรมนุษย์ เปรียบประดุจความดีที่ทำเอง
86. ? ภูมิปัญญา? ในข้อความต่อไปนี้ตรงกับข้อใด
? ในวรรณคดีนักเขียนและกวีย่อมแสดงภูมิปัญญาของตนออกมา เราจึงสามารถมองเห็นชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยมและจริยธรรมของคนในสังคมที่ผู้ประพันธ์จำลองไว้ให้ประจักษ์?
1) ลักษณะของสังคมที่เสนออย่างตรงไปตรงมา
2) การแดสงภาพของชีวิตที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม
3) ภาพจำลองของชีวิตและการส่งเสริมจริยธรรมของสังคม
4) ความรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
87. ข้อใดมีเนื้อความต่างจากกลุ่ม
1) จึ่งว่าเจ้าเหล่านี้นี่บ่าวใคร ฤาว่าไพร่หลวงเลกสักข้อมือ
2) ถึงกริ้วกราดด่าว่าก็จะรับ อย่าให้ยับต้องประสงค์ต้องลงหวาย
3) นายจะถอดให้เป็นยายนายประตู กินปลาทูกับข้าวแดงอดแกงเอย
4) ส่งกระดาษให้พระราชวรินทร์ชำระ ใครเกะกะเฆี่ยนให้หนักแล้วสักหน้า
88. คำประพันธ์ต่อไปนี้แสดงแนวคิดในด้านใด
? ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก
โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น?
1) การก่อสร้างพุทธสถาน 2) คำสอนทางพระพุทธศาสนา
3) การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย 4) สถานภาพของคนในสังคม
89. ข้อใดไม่ปรากฏอยู่ในคำประพันธ์ต่อไปนี้
? ขาวสุดพุดจีบจีน เจ้ามีสินพี่มีศักดิ์
ทั้งวังเขาชังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว?
1) ค่านิยมของสังคม 2) อานุภาพของความรัก
3) สถานภาพของสตรี 4) ความสำคัญของชาติตระฉันล
90. ข้อใดเป็นเหตุผลที่ทำให้เพราะเจ้ากรุงสญชัยพระราชทานค่าสินไถ่โดยไม่เอาผิดชูชกและยังเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
1) เชื่ออำนาจของกฎแห่งกรรม
2) เคารพในการบำเพ็ญทานของพระโอรส
3) ให้เกียรติพราหมณ์เพราะเป็นผู้อยู่ในวรรณะสูง
4) รู้ธรรมชาติของชูชกว่าเป็นคนโลภที่ไม่รู้จักขอบเขต
#################################
เฉลยแนวข้อสอบครู เอกภาษาไทย ชุดที่ 10
82. ตอบ 4 น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
- ตามคำประพันธ์ที่ยกมา เค้าพูดว่า ?อย่าไปมีเรื่องกับคนที่มีอำนาจ? ตรงกับสำนวนว่า
?น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ? ซึ่งเป็นสำนวนที่ไว้เตือนสติว่า ?อย่าไปขวางคนที่มีอำนาจ?
ข้อ 4 จึงถูกต้อง
ข้อ 1 กล้านักมักบ้าบิ่น หมายถึง กล้าเกินไปมักอันตราย
ข้อ 2 เอามือซุกหีบ หมายถึง หาความเดือดร้อนให้ตัวเอง
ข้อ 3 จระเข้ขวางคลอง หมายถึง อันธพาล
83. ตอบ 2 ความน่าเกรงขามของเคราะห์กรรมหรือโชคชะตา
- ข้อ 2 ไม่มีปรากฏในเรื่อง ?อัวรานางสิงห์?
ส่วนข้อ 4 ความเศร้าใจที่เห็นการกระทำที่ฝืนธรรมชาติ (สวนกับธรรมชาติ) คือ จับสิงโตมาขังไว้
โดยไม่คิดถึงจิตใจของมันเลย ก็มีปรากฏในเรื่องอัวรานางสิงห์
84. ตอบ 2 ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เป็นต้นเหตุให้สัตว์เกิดความทุกข์ทรมานfficeffice" />
- ข้อความนี้พูดถึงการที่คนเราจับอัวราไปขังไว้ในกรง โดยที่ตัวเองปลอดภัยแต่อัวราสูญเสียอิสรภาพ
- ข้อ 1 ผิดที่ ?อัวราสูญเสียสัญชาตญาณสัตว์ป่า? ที่ถูกคือ ?สูญเสียอิสรภาพ?
- ข้อ 3 ผิดที่ ?ความกลัว....ทำให้เกิดสวนสัตว์? จริงๆเฉพาะ ?ความอยากรู้อยากเห็นทำให้เกิดสวนสัตว์?
แต่ ?ความกลัวทำให้เกิดกรงสัตว์? มากกว่า
- ข้อ 4 ไม่จริง ที่ว่า ?มนุษย์หัวเราะความเดียวดายที่น่าเวทนาของอัวรา?
- ข้อ 2 ตรงตามแนวคิดของคนเขียนที่ต้องการบอกว่า ความเห็นแก่ตัว (กลัวแต่อยากเห็น)
ของมนุษย์ทำให้อัวราโดนจับมาขังและได้รับความทุกข์ทรมาน
85. ตอบ 4 ไม่มีพรเทพพรมนุษย์ เปรียบประดุจความดีที่ทำเอง
- แนวคิดหลักของพุทธศาสนา คือ เรื่องของกรรมที่เป็นผลจากการกระทำของตัวเราเอง จึงตรงกับข้อ 4 ที่สุด
(ข้อ 4 เขาย้ำว่า ไม่มีพรอะไรเทียบความดีที่เราทำเอง)
- ข้อ 1 พูดว่า ?ความกรุณาปราณีเกิดจากใจ? (ยังไม่แสดงแนวคิดที่ชัดเจนของศาสนาพุทธเท่าข้อ4 เลย)
(ในข้อความนี้ไม่ได้บอกให้เราเมตตาปราณีนะ) (ยังไม่แสดงแนวคิดที่ชัดเจนของศาสนาพุทธเท่าข้อ4 เลย)
- ข้อ 2 พูดว่า ?คนเราตายแล้ว ร่างกายก็สลายลง? (ยังไม่แสดงแนวคิดที่ชัดเจนของศาสนาพุทธเท่าข้อ4 เลย)
- ข้อ 3 พูดว่า ?เวลาบวชน้ำตาก็ไหลเพราะอิ่มบุญ? (ยังไม่แสดงแนวคิดที่ชัดเจนของศาสนาพุทธเท่าข้อ4 เลย)
86. ตอบ 2 การแสดงภาพของชีวิตที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม
- ข้อความที่ยกมา บอกว่า กวีแสดง ?ชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม และจริยธรรมของคนในสังคมไว้?
ข้อ 2 จึงใกล้เคียงและดีที่สุดแล้ว
- ข้อ 1 ผิด ที่ ?เสนออย่างตรงไปตรงมา? เพราะเค้าไม่ได้บอกมา
- ข้อ 3 ผิด ที่ ?ส่งเสริมจริยธรรมของสังคม? เพราะเค้าบอกว่า ?แสดงจริยธรรม?
ไม่ได้บอกว่า ?ส่งเสริมจริยธรรม?
- ข้อ 4 ผิด เพราะความรู้ขนบประเพณีที่ยาวนานเป็นภูมิปัญญาของ ?ชาวไร่? ไม่ใช่ ?ภูมิปัญญาของกวี?
(โจทย์ถาม ?ภูมิปัญญาของกวี? )
87. ตอบ 1 จึ่งว่าเจ้าเหล่านี้นี่บ่าวใคร ฤาว่าไพร่หลวงเลกสักข้อมือ
- ข้อ 2,3,4 พูดถึงการใช้อำนาจของนาย
- ข้อ 2 สังเกตจาก ?กริ้วกราด? ?ด่าว่า? ?ต้องลงหวาย?
- ข้อ 3 สังเกตจาก ? นายจะถอดให้เป็นยายนายประตู?
- ข้อ 4 สังเกตจาก ?เฆี่ยนให้หนักแล้วสักหน้า?
- ส่วนข้อ 1 เป็นการถามไถ่ธรรมดาว่า ?เจ้าเป็นบ่าวใคร หรือเป็นไพร่หลวงหล่ะ?
ข้อ 1 จึงต่างจากข้ออื่นๆ
88. ตอบ 2 คำสอนทางพระพุทธศาสนา
- กลอนที่ยกมาถอดความไดประมาณว่า ?เจดีย์ยังร้าวและทรุดโทรม เหมือนชื่อเสียงเกียรติยศที่มีได้ก็หมดลงได้
ช่างอนิจจังจริงจริง? คือเหมือนๆกับเค้าต้องการบอกว่าทุกอย่างมันอนิจจังนะ จึงตรงกับข้อ 2 ที่สุด เพราะพูด
ถึงอนิจจัง ซึ่งเป็นคำสอนในศาสนาพุทธ เรื่องกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
- ข้ออื่นๆไม่ใช่แนวคิดของกลอนบทนี้
89. ตอบ 3 สถานภาพของสตรี
Jบทที่ตัดมานี้เป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ที่กล่าวถึงเจ้าจอมคนนึงของพระองค์ที่เป็นหญิงจีน แต่คน
ในวังไม่ชอบนัก (เพราะว่าเป็นคนจีน) J
- ข้อ 1 มีตรง ?ทั้งวังเขาชังนัก? (คนสมัยนั้นรังเกียจเจ้าจอมที่เป็นคนจีน)
- ข้อ 2 มีตรง ?ทั้งวังเขาชังนัก? แต่พี่รักเจ้าคนเดียว
- ข้อ 4 มีตรง ?พี่มีศักดิ์?
90. ตอบ 2 เคารพในการบำเพ็ญทานของพระโอรส
- พูดง่ายๆ คือ พระเจ้ากรุงสญชัยยอมทำตามที่พระเวสสันดรตกลงกับชูชกโดยไถ่ตัว 2 กุมารตามที่พระเวสสันดร
กำหนดค้าไถ่ตัวไว้ ถือว่าทรงยอมรับ (เคารพ) ในการบำเพ็ญทานของพระเวสสันดรนั่นเอง
แนวข้อสอบกพ2555 ---> แนวข้อสอบกพ2555พร้อมเฉลย รวมพลคนสอบครู 2555 รวมพลคนสอบบรรจุครู 2555